ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางนี้นะครับ
รายละเอียด รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง Ambulance Toyota Commuter
รถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตชั้นสูง
(มาตรฐานความปลอดภัย 10 G)
วัตถุประสงค์ ใช้ในการออกปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดย
บุคลากรที่เหมาะสมและใช้ขนส่งผู้ป่วยภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน
ความต้องการจำเพาะ
1. เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่และความปลอดภัยในชีวิตของแพทย์
พยาบาลและผู้ป่วยกรณี รถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำบนท้องถนนในขณะนำส่งโรงพยาบาล
โดยพัฒนาเตียงผู้ป่วยและชุดเก้าอี้นั่งในห้องพยาบาลให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
2. เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยสู่แพทย์และพยาบาลโดยเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติการต้านสารจุลชีพของพื้น,ผนัง,ฝ้าเพดานในห้องพยาบาล
โดยมีรายงานเชิงเทคนิคที่ออกโดยหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ
3. ให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยในระดับBasic Trauma Life Support และ
Advanced Life Support ได้
4. มีการจัดตำแหน่งพื้นที่ในการใช้งานและการจัดวางเครื่องมือตามมาตรฐานสากล
คุณลักษณะของรถพยาบาล แบ่งออกเป็น 2
หมวด ดังนี้คือ
หมวด
(ก) คุณลักษณะของรถยนต์
หมวด (ข) คุณลักษณะของครุภัณฑ์การแพทย์
หมวด (ก) คุณลักษณะของรถยนต์มีรายละเอียด
ดังนี้
1.
คุณลักษณะทางเทคนิคของรถยนต์
1.1
ระบบเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซล
4 สูบ ปริมาตรความจุภายในกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,700 ซีซี มีกำลังเครื่องยนต์สุทธิไม่น้อยกว่า 163 แรงม้า
1.2
ระบบกันสะเทือนมาตรฐานผู้ผลิต
หน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแหนบซ้อน พร้อมโช้กอัพ
1.3
ระบบพวงมาลัยขับด้านขวาแรคแอนด์พีเนี่ยน
1.4
ระบบห้ามล้อ
มีดิสเบรกล้อหน้า ดรัมเบรกล้อหลังหรือดิสเบรกทั้งสี่ล้อ
1.5
ระบบส่งกำลัง
ใช้เกียรกระปุก มีเกียร์เดินหน้าไม่น้อยกว่า 6 เกียร์ และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์ หรือใช้เกียร์อัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 6 เกียร์และเกียร์ถอยหลัง 1
เกียร์
1.6
ระบบไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ขนาด
12 โวลต์
ไม่น้อยกว่า 65 แอมแปร์ พร้อมโคมไฟฟ้าประจำรถ
1.7 ความยาวช่วงล้อหน้า – หลัง ไม่น้อยกว่า 3,800 มิลลิเมตร
2.
คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นรถพยาบาล
สีขาว สภาพใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน
2.2 ความสูงจากพื้นถึงหลังคาไม่น้อยกว่า 2,280
มิลลิเมตร และความกว้างภายนอกตัวรถ ไม่น้อยกว่า 1,950 มิลลิเมตร สามารถบรรทุกผู้ป่วยนอนในรถได้ไม่ต่ำกว่า 1 คน และผู้โดยสารอื่นได้อีก 3
ที่ ทุกที่มีเข็มขัดนิรภัย
2.3 กระจกเป็นแบบนิรภัยทั้งหมด
ติดฟิล์มกรองแสงชนิดมาตรฐานแบบสามารถป้องกันรังสี
UV
ได้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ข้างหน้า 2 ข้าง ด้านคนขับความทึบแสงไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
ยกเว้นกระจกบังลมด้านหน้าติดฟิล์มกรองแสงชนิดเต็มบานทึบแสงไม่น้อยกว่า 40
เปอร์เซ็นต์
ด้านห้องพยาบาลมีความทึบแสงไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
2.4 ในห้องพยาบาลติดตั้งระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนอิสระ ในชุดแอร์มีการติดตั้ง
ระบบ Plasma generator และ Negative
Iron Generator ติดตั้งไว้ที่แอร์ด้านหน้าห้องพยาบาลเพื่อฆ่าเชื้อในอากาศก่อนจ่ายลมเย็นออกมา
ด้านบนส่วนท้ายของห้องพยาบาลมีระบบฟอกอากาศพร้อมกรองอากาศด้วย Hepa Filter และระบบ UV มาตรฐานสากล โดยตำแหน่งการติดตั้งแอร์มีการควบคุมทิศทางลมให้ไหลผ่านบุคลากรทางการแพทย์ก่อนผู้ป่วยจากหน้าสู่หลังเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้เสนอราคาต้องแสดงรูปแบบและตำแหน่งการติดตั้ง มาในวันเสนอราคา
2.5 ในห้องคนขับติดตั้งเครื่องรับวิทยุระบบ AM/FM/USB พร้อมลำโพง
2.6 ภายในรถมีผนังกั้นทำด้วยไฟเบอร์กลาส
แบ่งส่วนระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาล ออกจากกันส่วนบนมีช่องกระจกระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาลเป็นกระจกชนิดไม่สามารถเปิดได้
2.7 มีผนังกั้นแยกระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาลมีโครงเหล็กชนิดเหล็กเหลี่ยมดัดโครงขึ้นรูปแบบไขว้
เสริมที่ผนังกั้นแยกระห่างห้องคนขับและห้องพยาบาล
ยึดกับพื้นรถและโครงหลังคาเพื่อเป็นโครงสร้างเสริมสำหรับป้องกันการยุบตัวจากอุบัติเหตุของโครงสร้างของรถตามมาตรฐานการผลิตรถยนต์
2.8 มีชุดสัญญาณไฟฉุกเฉินสีตามกฎหมายกำหนด
แถวยาวแบบไฟ LED ติดตั้งด้านหน้ารถเหนือคนขับและชนิดแถวสั้นติดตั้งด้านหลังสุดบนหลังคารถซึ่งสามารถปรับลดความจ้าของแสงได้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.8.1
เป็นไฟฉุกเฉินแบบแถวยาว ประกอบด้วย
ดวงไฟแบบ LED
จำนวนไม่น้อยกว่า 16 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
2.8.1.1
ในแต่ละชุดใช้มีชุดหลอดLED ไม่น้อยกว่า 4ดวง และมีมาตรฐาน การป้องฝุ่นและน้ำ (mechanical
casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) IP( International
Protection Standard )ไม่ต่ำกว่า IP65 โดยมีรายงานเชิงเทคนิคที่ให้การรับรองจากสถาบันที่ให้การรับรองภายในประเทศ
หรือ ใบรับรองจากต่างประเทศ
2.8.1.2
ฝาเลนส์ครอบดวงไฟทำด้วยวัสดุโพลีคาร์บอเนต
ด้านซ้ายมีสีน้ำเงิน และด้านขวามีสีแดง
2.8.2
บนหลังคากึ่งกลางส่วนท้ายติดตั้งไฟแถวสั้น
แบบ LED สีน้ำเงิน - แดง
จำนวน 1 ชุด
2.8.3
ติดตั้งไฟแบบ LED แบบกระพริบ บริเวณ ด้านข้าง ซ้าย – ขวาของตัวรถ
ด้านละ 3 จุด มีสวิทต์ควบคุมการเปิด
– ปิด ได้จากห้องคนขับ และติดตั้งไฟ
LED แบบกระพริบบริเวณกระจังหน้ารถ
2.8.4
โดยมีชุดไฟเบอร์กลาสแบบแอร์โรไดนามิค (Aerodynamics)รองรับการติดตั้งชุดสัญญาณไฟฉุกเฉินดังกล่าวเพื่อลดการต้านลมและเสียง
2.8.5
ติดตั้งโคมสปอร์ตไลด์ ชนิด LED ข้างตัวรถ ด้านซ้าย – ขวา บริเวณส่วนหน้าและท้ายสุดของรถ
จำนวน 4 ดวง
และบริเวณเพดานภายในห้องพยาบาล ส่วนท้ายสุดด้านบน
จำนวน 1 ดวง
มีสวิทซ์ควบคุมชนิด 2 ทาง สามารถควบคุมการเปิด– ปิด ได้จากห้องคนขับและแผงควบคุมของห้องพยาบาล และมีมาตรฐาน CE และมาตรฐาน IP ไม่น้อยกว่า IP65
2.9
มีเครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพงขนาด 100 วัตต์ ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลท์จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งอยู่ในห้องคนขับ
ประกอบด้วย
2.9.1
มีไมโครโฟน มีสวิทซ์สำหรับควบคุมการพูด (Push to Talk) สายไมโครโฟนเป็นแบบ Coiled Tubing เมื่อกดพูดจะตัดเสียงไซเรนอัตโนมัติ
พร้อมที่ยึดไมโครโฟน
2.9.2
เลือกปรับเสียงไซเรน
ให้ความแตกต่างของเสียงได้ไม่น้อยกว่า 3 เสียง
ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.9.3
มีปุ่มปรับเลือกเสียงฉุกเฉินแบบชั่วคราวสามารถประกาศได้ทันทีที่ต้องการและเสียงดังกล่าวสามารถปรับแทรกเข้าไประหว่างเสียงไซเรน
2.9.4
ลำโพงขนาดไม่น้อยกว่า 100 วัตต์ โดยติดตั้งตามความเหมาะสมกับลักษณะรถจำนวน 1 ตัว
2.10
มีเครื่องประจุไฟแบตเตอรี่อัตโนมัติ (Battery
Charger) จำนวน 1 เครื่อง
2.10.1
เป็นเครื่องประจุไฟที่สามารถต่อกับปลั๊กเสียบประจำรถ
ช่วยรักษาระดับไฟในแบตเตอรี่ให้พร้อมใช้งาน ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
2.10.2
สามารถประจุแบตเตอรี่ ชนิดตะกั่ว – กรดทุกแบบ ทุกขนาด
2.10.3
รับแรงดันไฟฟ้าได้ระหว่าง 220 – 240 VAC
2.10.4
มีระบบตัดการทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อลัดวงจร
ต่อสายผิดขั้วและเมื่ออุณหภูมิเครื่องประจุร้อนจัด
2.11
ห้องพยาบาลด้านซ้ายมีประตูปิด – เปิด
เป็นชนิดบานเลื่อน และด้านหลังมีประตู ปิด – เปิดแบบเปิดออกซ้ายขวา หรือยกขึ้น – ลง สำหรับยกเตียงผู้ป่วยเข้า – ออกจากรถพยาบาล
2.12
ห้องพยาบาล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.12.1 ภายในห้องพยาบาลต้องได้รับการ
พ่นเคลือบสาร Nano Titanium Dioxide (Nano_TiO2)
2.12.1.1
มีความสามารถในการต้านแบคทีเรีย
และมีประสิทธิภาพสูง
ในการฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น
2.12.1.2
ต้องผ่านการทดสอบด้านความเป็นอนุภาคนาโน
และประสิทธิภาพในการฆ่า เชื้อแบคทีเรีย จาก
สถาบันนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
2.12.1.3
ผู้ผลิตรถพยาบาลต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง
“ฉลากนาโน (Nano Q)”จาก สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่ง
ประเทศไทย หรือได้รับแต่งตั้งจาก ผู้ผลิตรถพยาบาลทีได้รับ
อนุญาตให้ใช้ “ฉลากนาโน (Nano Q)”โดยตรง
2.12.1.4
พร้อมแนบผลการทดสอบการยังยั้งแบคทีเรียของวัสดุที่ใช้
ประกอบภายในห้องพยาบาลไม่น้อยกว่า 4 ชนิด ซึ่งผ่านการ
รับรองจากสถาบันนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พร้อม
แสดงรูปตัวอย่างวัสดุ มาในวันเสนอราคา
2.12.1.5
ผนัง ฝ้า เพดาน และพื้น สำหรับห้องพยาบาล
ตู้เก็บถัง
ออกซิเจน ตู้เวชภัณฑ์
หรือวัสดุที่เป็นไฟเบอร์กลาสด้านใน
ทั้งหมด
ทำการเคลือบผิวด้วยสารนาโนไททาเนี่ยมไดออกไซด์
เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พร้อมกับติดฉลากนาโน
(Nano Q) โดย
ตามทะเบียนรับรอง(ในที่นี้จะเรียกว่าฉลากนาโนNano Q)
จะต้องเป็นฉลากนาโนประเภทที่มีทะเบียนรับรองให้ใช้กับสี
สารเคลือบและมีคุณสมบัติพิเศษยับยั้งเชื้อแบคทีเรียตามที่
ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ผนังและวัสดุของ
รถพยาบาลในรถพยาบาลเท่านั้น พร้อมแสดงหลักฐานมาใน
วันเสนอราคา
2.12.2
ราวจับมือสแตนเลส ทำจากสแตนเลสสตีล
ขัดขึ้นเงา ไม่เป็นสนิม หรือพลาสติกชนิดที่มีความแข็ง ทนความร้อน
สามารถรับน้ำหนักได้สูง
2.12.3
มีจุดยึดสายรั้งตัว
สามารถรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 90 กิโลกรัม พร้อมเข็มขัดและสายยึดรั้งตัว
และมีชุดเสาแขวนภาชนะใส่น้ำเกลือหรือเลือด
2.12.4
ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา
โครงสร้างผลิตจากพลาสติก ทนความร้อน ใช้มอเตอร์ที่ให้กำลังขับเป็นแบบรอบหมุนที่ให้ความเร็วคงที่
2.13
ด้านหลังคนขับออกแบบให้มีเก้าอี้นั่งเดี่ยว
2 ตัว ชนิดมีพนักพิงหันหน้าไปทางด้านท้าย
รถ 1 ตัว) ส่วนอีก 1 ตัว เป็นแบบพับเก็บได้พร้อมเข็มขัดนิรภัยชนิดดึงกลับเองแบบไม่
น้อยกว่า 3 จุด
2.14
ภายในห้องพยาบาลมีถังออกซิเจนชนิดอลูมิเนียมขนาดความจุน้ำไม่น้อยกว่า
30 ลิตร
จำนวน 2 ท่อ และติดตั้งท่อออกซิเจนในแนวตั้ง
ยึดติดตั้งภายในห้องพยาบาลอย่างมั่นคง
แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวรถได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
และสามารถยกหรือ
เลื่อนเพื่อความสะดวกในการนำถังออกซิเจนเข้าและออกจากรถพร้อมอุปกรณ์จับยึดถัง
ออกซิเจนอย่างแน่นหนา
2.15
ตาม ข้อ 2.13 ท่อเก็บออกซิเจนทั้ง
2 เชื่อมต่อกันได้ด้วยท่อทนแรงดัน (ระบบPipeline) ครบชุดโดยมีมาตรฐาน Medical Device
Directive 93/42/EEC (MDD) และ ISO
13485และ
ISO
9001 หรือ
FDA
Approved และในระบบเชื่อมต่อนั้นสามารถถอดถังออกซิเจนถังใดถังหนึ่งออกได้
โดยยังสามารถใช้งานถังที่เหลืออยู่ได้ตามปกติ โดยระบบการเชื่อมต่อของแผงPipelineบริเวณผนังเป็นระบบ
Push-in
Fittings โดยแผงPipeline บริเวณด้านหน้า มีแถบไฟแสดงสถานะปริมาตรของออกซิเจนที่เหลือในถังทั้ง
2 ถังพร้อมกัน เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป
หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
2.16
มีชุดเก้าอี้เดี่ยว 2 ตัว (ด้านซ้ายข้างประตูเลื่อน) ชนิด มีพนักพิง
หันหน้าไปทางด้านหน้ารถ
ซึ่งสามารถปรับเอนได้ พร้อมเข็มขัดนิรภัย ชนิดดึงกลับเองแบบไม่น้อยกว่า 3
จุด
2.17 ภายในห้องพยาบาลเป็นไฟเบอร์กลาส ด้านหลังคนขับมีที่เก็บถังออกซิเจน
จำนวน 2 ถัง และถัดจากที่เก็บถังออกซิเจน ด้านบน เป็นตู้เก็บเวชภัณฑ์แถวเรียง 3 ช่อง พร้อมบานปิดชนิดใส ใต้ตู้เก็บเวชภัณฑ์ติดตั้งรางจำนวน 2
รางสำหรับยึดและติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์
มีผลการทดสอบการรับแรงดึงในแนว Fx ทิศตามยาวของรถ และ Fy
ทิศตามขวางของรถ ได้ไม่น้อยกว่า200kgf พร้อมแนบเอกสารรายงานผลทดสอบจากหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ
(ยื่นเอกสารรับรอง ณ วันที่ยื่นเสนอราคา)
2.17.1 โดยรางสำหรับยึดและติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์แต่ละรางมีความยาวไม่น้อยกว่า
1.1 เมตร โดยมีตัวล็อคอุปกรณ์รวมทั้ง 2 รางไม่น้อยกว่า 4 ชุด
2.18
มีชุดแปลงระบบไฟฟ้าจากไฟฟ้ากระแสตรง 12 V เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240
VAC 50Hz ขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000
วัตต์ (Pure sinewave) โดยระบบไฟฟ้าในห้องพยาบาลสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ
220V 50 HZ จากแหล่งจ่ายภายนอกตัวรถได้
โดยไม่ทำให้ชุดแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับเสียหาย พร้อมสวิตช์เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้า
และชุดสายไฟต่อพ่วง แบบหัว Power Plug ซึ่งมีความยาวไม่น้อยกว่า
15 เมตร
2.19
ในส่วนของห้องพยาบาลมีปลั๊กเสียบชนิด
3 ขา จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ช่องเสียบและมีปลั๊กเสียบต่อไฟฟ้าแบบที่จุดบุหรี่
12V จำนวน 2 ช่อง
2.20
มีสวิทซ์ตัดวงจรไฟฟ้า
(Cut – out) ห้องพยาบาลอยู่ในห้องคนขับเพื่อป้องกันการเปิดไฟฟ้าไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ
2.21
ห้องพยาบาลสามารถบรรทุกผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้ไม่น้อยกว่า
4
ที่นั่ง ทุกที่นั่ง มีเข็มขัดนิรภัย
2.22
มีชุดฐานสำหรับล็อคเตียงแบบเอียงรับเตียงเมื่อเข็นขึ้น
– ลงจากด้านท้ายรถทำด้วยวัสดุ
ที่มีความมั่นคง
แข็งแรง สวยงาม พร้อมตัวล็อคอัตโนมัติสำหรับยึดเตียงเมื่อเข็นเตียงขึ้นและด้านท้ายของชุดฐานเป็นที่สำหรับเก็บ
Spinal Board หรือเปลตัก (Scoop Stretcher) ได้ ความสูงของชุดฐานนี้ต้องไม่เป็นอุปสรรคที่ทำให้
ไม่สามารถเข็นเตียงพร้อมผู้ป่วยขึ้นได้โดยสะดวก
3.
อุปกรณ์และครุภัณฑ์ประจำรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง
3.1
ครุภัณฑ์และเครื่องมือประจำรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง
3.1.1
ยางอะไหล่พร้อมกระทะล้อ
ตามขนาดมาตรฐาน 1 ชุด
3.1.2
แม่แรงยกรถพร้อมด้ามแบบมาตรฐานประจำรถของผู้ผลิต 1 ชุด
3.1.3
ประแจถอดล้อ 1
อัน
3.1.4
เครื่องมือประจำรถตามมาตรฐานผู้ผลิตอย่างน้อย ประกอบด้วย
3.1.4.1 ประแจปากตาย
(6ตัว) 1
ชุด
3.1.4.2 ประแจแหวน
(6
ตัว) 1 ชุด
3.1.4.3 ประแจเลื่อนขนาด
10
นิ้ว 1 อัน
3.1.4.4 ไขควงขนาด
6 นิ้ว ปากแบน 1
อัน
3.1.4.5 ไขควงขนาด
6 นิ้ว ปากแฉก 1 อัน
3.1.4.6 คีมธรรมดา 1 อัน
3.1.4.7 คีมล็อค
10
นิ้ว 1 อัน
3.1.4.8 ซองหรือกล่องเก็บเครื่องมือข้างต้น 1
ใบ
3.1.4.9 โคมไฟสปอร์ตไลท์พร้อมสายและปลั๊กเสียบ 1 ชุด
3.1.5
เครื่องดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหยชนิดไม่มีสาร
CFC ขนาดไม่น้อยกว่า
5 ปอนด์พร้อมติดตั้ง 1 ชุด
3.1.6
เครื่องหมายฉุกเฉินสะท้อนแสงรูปสามเหลี่ยม
ชนิดถอดตั้งได้ 1 ชุด
3.1.7
ต้องติดสติกเกอร์
3.1.7.1 สติกเกอร์แถบสะท้อนแสงตามมาตรฐานที่การแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.)
กำหนด (สีเขียวมะนาวลายหมากรุกเป็นมาตรฐานสากล)
3.1.7.2 แสดงชื่อ
สัญลักษณ์ หน่วยงาน และหน่วยงานตามที่กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้จัดซื้อกำหนด
3.1.8
เข็มขัดนิรภัยประจำที่นั่งคนขับ และที่นั่งข้างคนตอนหน้า
3.1.9
ระบบการสื่อสารระหว่างห้องคนขับและห้องพยาบาล
Intercom
3.1.10
อุปกรณ์ทั้งหมดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ให้เป็นไปตามรูปแบบ
(Catalog)
และมาตรฐานของผู้ผลิต
3.2
วิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ขนาดกำลังส่ง 25 วัตต์ มีคุณลักษณะดังนี้
3.2.1
เป็นเครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดติดตั้งในรถยนต์
3.2.2
เป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้งานได้ดี
ในย่านความถี่ 136
MHz ถึง174 MHz
สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ Simplex และ Duplex
3.2.3
ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงไม่ต่ำกว่า 12 Volts
3.2.4
มีช่องความถี่ในการใช้งานไม่น้อยกว่า 11 ช่อง
3.2.5
RF
Input/Output Impedance = 50 Ohm
3.2.6
มีวงจร QT/DQT 2 Tone signaling หรือ วงจร CTCSS (Continuous
Tone
Coded Squelch System) ควบคุมการทำงานของเครื่องวิทยุคมนาคม
3.2.7
เป็นผลิตภัณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกา
หรือทวีปยุโรป หรือทวีปเอเซีย
3.2.8
สายอากาศ
3.2.8.1 มี Gain ไม่น้อยกว่า 3 dB
3.2.8.2 มี Input Impedance
50 Ohm
3.2.8.3
มีค่า VSWR ≤ 1.5 : 1
3.2.9
เงื่อนไข
3.2.9.1 ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมหรืออุปกรณ์ใดๆของเครื่องวิทยุ
คมนาคมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติโดยนำมาแสดงในวันยื่นซองเสนอราคา
หมวด
(ข)
คุณลักษณะของครุภัณฑ์การแพทย์ และเงื่อนไขเฉพาะ
1. ครุภัณฑ์การแพทย์
1.1
เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยแบบมีล้อเข็น 1 เตียง มีรายละเอียดดังนี้
1.1.1
ตัวเตียงและโครงทำจากโลหะอลูมินั่ม
หรืออลูมิเนียมอัลลอยด์ หรืออลูมิเนียมมีความแข็งแรง สามารถนวดหัวใจได้ทันที
โดยไม่ต้องใช้แผ่นกระดานรองหลัง
1.1.2
แผ่นรองตัวผู้ป่วยทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ หรืออลูมิเนียม หรือพลาสติกอย่างดี
1.1.3
พนักพิงหลังสามารถปรับระดับได้
1.1.4
มีเบาะรองนอนตลอดความยาวของเตียงสามารถพับได้สะดวกตามลักษณะของเตียง และถอดล้างทำความสะอาดได้
พร้อมสายรัดผู้ป่วยอย่างน้อย 2 เส้น
1.1.5
น้ำหนักเตียงรวมอุปกรณ์ประกอบไม่เกิน 50 กิโลกรัม สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ ไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัม
1.1.6
มีที่เสียบเสาน้ำเกลือ
พร้อมเสาน้ำเกลือ จำนวน 1 เสา สามารถปรับระดับ สูง – ต่ำได้
และยึดติดกับโครงเตียงได้อย่างมั่นคง
1.1.7
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO9001 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราค
1.1.8
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.2
ชุดล็อคศีรษะกับแผ่นกระดานรองหลังผู้ป่วย
(Head
Immobilizer) จำนวน 1
ชุด มีรายละเอียด ดังนี้
1.2.1
ผลิตจากก้อนโฟมขึ้นรูปที่มีความหนาแน่นสูง
มีช่องขนาดใหญ่อยู่บริเวณระนาบเดียวกับช่องหูเพื่อสังเกตอาการผู้ป่วยสามารถใช้ร่วมกับ Spine Board หรือ Scoop Stretcherได้
1.2.2
อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่รบกวน X-RAY/CT ผิวโดยรอบก้อนโฟมชุบเคลือบด้วยโพลียูรีเทนเหลวสามารถกันน้ำได้
ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
1.2.3
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO9001 และ ISO13485
พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.2.4
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.3
ชุดแผ่นรองหลังผู้ป่วย (Long Spinal
Board) จำนวน 1 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
1.3.1
ผลิตจาก Polyethylene
ทนแรงกระแทก มีความกระชับเมื่อรัดเข็มขัด Safety Belt
1.3.2
สามารถ X-RAY/CT
ผ่านได้
1.3.3
สามารถใช้ร่วมกับชุดล็อคศีรษะ
1.3.4
มีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. มีความกว้างสูงสุดไม่น้อยกว่า 41 ซม.
มีความหนาพร้อมฐานไม่เกิน 7 ซม.
1.3.5
น้ำหนักไม่เกิน 7 กก.
1.3.6
รับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า
180 กก.(แนบเอกสารรับรองจากหน่วยงานราชการ)
1.3.7
บริษัทฯ รับรองการจัดหาอะไหล่ได้ระยะเวลา
5 ปี
1.3.8
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO9001 และ ISO13485
พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.3.9
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.4
ชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับผู้ใหญ่ 1 ชุด และชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับเด็ก
1 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย
1.4.1
ถุงลมสำหรับบีบอากาศช่วยหายใจผลิตจากยางซิลิโคน จำนวน
1 ชิ้น
1.4.2
ท่อหรือถุงสำรองออกซิเจนจำนวน 1 ชิ้น
1.4.3
หน้ากากครอบปากและจมูก (Mask) ผลิตจากยางซิลิโคน แบบโปร่งใส จำนวน 3 ขนาด ขนาดละอย่างน้อย 1 อัน
1.4.4
ท่อยางป้องกันคนไข้กัดลิ้น ( Oropharyngeal
Airway ) จำนวน 5 อัน
1.4.5
กล่องบรรจุอุปกรณ์
1.4.6
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.5
ชุดเครื่องมือส่องหลอดลม (Laryngoscope) จำนวน 1 ชุด มีคุณลักษณะดังนี้
1.5.1
เป็นชุดเครื่องมือส่องตรวจหลอดลมให้แสงสว่างโดย
ระบบ LED หรือ ฮาโลเจนหรือซีนอน
1.5.2
ด้ามมือจับและแผ่นส่องตรวจทำด้วยสแตนเลส หรือโลหะผสม
1.5.3
แผ่นส่องตรวจ (Blade) จำนวน 5 ขนาด
1.5.4
มีกล่องเก็บอุปกรณ์อย่างดีมีช่องแยกเป็นสัดส่วนของอุปกรณ์แต่ละชิ้น
1.5.5
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.6
เครื่องดูดของเหลว (Suction Pump) จำนวน 1 เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.6.1
ใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ และกระแสสลับ
220 โวลท์ และมีแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ภายในตัวเครื่องมีหูหิ้วน้ำหนักไม่เกิน
4.5 กิโลกรัม
1.6.2
มีปุ่มควบคุมแรงดูด
พร้อมมาตรวัดแสดงแรงดูด
1.6.3
สามารถปรับแรงดูดสูงสุดได้ไม่ต่ำกว่า 630 มิลลิบาร์ และอัตราการไหลของอากาศสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อนาที
1.6.4
ภาชนะบรรจุของเหลวมีขนาดปริมาตรไม่ต่ำกว่า
800 มิลลิลิตร จำนวน 1 ใบ
1.6.5
มีสายดูด (Suction Tubing) ยาวไม่น้อยกว่า
1 เมตร
1.6.6
แบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องเป็นแบบที่สามารถทำการชาร์จไฟได้ทันที โดย ไม่ต้องรอให้ไฟหมดและมีสัญญาณบ่งชี้กรณีแบตเตอรี่ใกล้จะหมด
1.6.7 สามารถรองรับการติดตั้งด้วยการยึดกับผนัง
(wall
bracket)
ในรถพยาบาลแบบ 10G
1.6.8
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.7
เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดฝาผนัง
จำนวน 1
เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.7.1
เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดหน้าปัด Aneroid
ติดผนัง
1.7.2
สามารถวัดความดันโลหิตได้ไม่น้อยกว่า 0 – 300 มิลลิเมตรปรอท มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน
±3
มิลลิเมตรปรอท
1.7.3
มีผ้าพันแขนสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก อย่างละ
1 ชุด และผ้าพันขาผู้ใหญ่ 1 ชุดเป็นชนิดปะติด(Velcro Fastener)
1.7.4
สายยางต่อจากผ้าพันแขนเป็น แบบ Coiled
Tubing
1.7.5
ลูกยางสำหรับอัดลมผ้าพันแขนเป็นลูกยางแบบมาตรฐาน
1.7.6
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.8
กระเป๋าช่วยชีวิตฉุกเฉิน จำนวน 1 ชุด มีคุณลักษณะพร้อมอุปกรณ์บรรจุอยู่ในกระเป๋าดังต่อไปนี้
1.8.1
เป็นกระเป๋าสะพายและมีหูหิ้วทำด้วยวัสดุกันน้ำ
1.8.2
มีที่เก็บหลอดยาชนิดรูเสียบ
1.8.3
สามารถบรรจุถังบรรจุออกซิเจน
ขนาด 2 ลิตร
(400 ลิตรออกซิเจน)
ภายใน
กระเป๋าอีก 1 ท่อ และอีก 1
ท่อ สำรองไว้ในรถ
1.8.3.1
ถังบรรจุออกซิเจนทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ชนิดเบา
เป็นถังไร้ตะเข็บรอยต่อ
1.8.3.2 การเปิด
– ปิด ถังออกซิเจนสามารถกระทำได้โดยสะดวก
1.8.4
มีชุดปรับความดัน (Regulators) จำนวน 1 ชุด
1.8.4.1 วัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์หรือทองเหลือง
1.8.4.2 สามารถปรับแรงดันใช้งานได้ตั้งแต่
0
– 15 ลิตรต่อนาที
1.8.4.3 มีข้อต่อ
D.I.S.S.
2 ตำแหน่งเพื่อต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ
1.8.4.4 มีข้อต่อหางปลา
จำนวน 1
ตำแหน่งเพื่อต่อเข้าหน้ากากออกซิเจน
1.8.5
เครื่องวัดความดันโลหิต Digital จำนวน 1 ชุด
1.8.6
หูฟัง (Stethoscope) จำนวนไม่น้อยกว่า
1 ชุด
1.8.6.1 หูฟังสามารถฟังได้ทั้งสองด้าน
โดยวิธีหมุนไปมาบริเวณหัวฟังเพื่อฟังเสียงความถี่สูงหรือต่ำ
1.8.6.2 หัวฟัง (Chest piece) ทำจากโลหะผสมประกอบเป็น 2 ด้าน ด้าน Bell และด้าน Diaphragm
1.8.6.3 ก้านหูฟังทำจากโลหะสังเคราะห์
1.8.6.4 เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป
หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
1.8.7
ไฟฉายส่องรูม่านตา จำนวน 1 อัน
1.8.7.1 ตัวกระบอกผลิตขึ้นจากโลหะสังเคราะห์น้ำหนักเบา
สามารถป้องกันการกระแทก ใช้หลอดไฟแบบฮาโลเจน หรือ LED
1.8.7.2 มีน้ำหนักเบา
1.8.7.3 สามารถปิด – เปิด ใช้งานได้ง่ายด้วยมือข้างเดียว
1.8.7.4 เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศทวีปยุโรป
หรือประเทศสหรัฐอเมริกา
1.8.8
สายดูดเสมหะ (Suction Tube) จำนวน 6 เส้น
1.8.9
ท่อช่วยหายใจพร้อมหัวต่อ (Endotracheal tube with connectors) เบอร์ 8, 7.5, 6.5, 6, 5.5, 5, 4.5, 4, 3.5 และ 3 ไม่น้อยกว่าอย่างละ 1 เส้น
1.8.10
คีมจับ (Magill Forceps) ของผู้ใหญ่และเด็ก จำนวนอย่างละ 1 อัน
1.8.11
กรรไกรตัดพลาสเตอร์ (Bandage
scissor)
จำนวนไม่น้อยกว่า 1 อัน
1.8.12
กระบอกฉีดยาขนาด 10 ซีซี (Syringe 10 cc.) จำนวน 10 อัน
1.8.13
พลาสเตอร์ (Adhesive
plaster) ขนาดกว้าง 1 นิ้ว จำนวน 1 ม้วน
1.9
เครื่องตรวจวัดปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและสัญญาณชีพจร (Pulse Oximeter)
พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานและ Finger Clip sensor จำนวน 1
เครื่อง มีรายละเอียดดังนี้
1.9.1
สามารถตรวจวัดและแสดงปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2)
ได้ตั้งแต่ 1 - 100 เปอร์เซ็นต์ ความแม่นยำในช่วง 70-100%
คลาดเคลื่อนไม่เกิน ±2
%
1.9.2
สามารถตรวจวัดและแสดงสัญญาณชีพจร (Pulse) ได้ค่าตั้งแต่ 30
ถึง 240 ครั้ง
ต่อนาทีหรือกว้างกว่าและแสดง SpO2 Wave form บนหน้าจอได้
1.9.3
มีความถูกต้องในการวัดอัตราการเต้นของชีพจร (Pulse)
โดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±2
ครั้งต่อนาทีในกรณีไม่มีการเคลื่อนไหว
1.9.4
มีเสียงและสัญลักษณ์เตือน 3 ระดับในกรณีที่ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
(SpO2)และสัญญาณชีพจร (Pulse) สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
1.9.5
รองรับการใช้งานในระดับความสูงไม่เกิน
5,000 เมตร
1.9.6
สามารถดูข้อมูลย้อนหลังแบบ
กราฟิก ( graphical trend review)ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง
1.9.7
สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 99
รหัสของผู้ป่วย
1.9.8
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.9.9
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.10 ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน
(Cervical
collar) จำนวน 1 ชุด
มีรายละเอียดดังนี้
1.10.1
โครงภายนอกเป็นพลาสติก
ส่วนภายในเป็นโฟมอ่อน
1.10.2
ประกอบติดกัน โดยสายรัดแบบปะติด (Velcro
Fastener)
1.10.3
ส่วนหน้ามีช่องสำหรับการเจาะหลอดลม
1.10.4
มีขนาดสำหรับเด็กจนถึงผู้ใหญ่
ไม่น้อยกว่า 3 ขนาด รวมทั้งหมดจำนวน 9 ชิ้น
1.10.5
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.11
ชุดเฝือกลมสุญญากาศ แบบแยกชิ้น
1.11.1
เป็นเฝือกลมสุญญากาศ ใช้สำหรับดามแขน-ขา
ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เฝือก ลม มี ทั้งหมด 3 ชิ้นประกอบด้วย
เฝือกดามแขน 2
ชิ้น
และเฝือกดามขา 1ชิ้น
1.11.2
มีกระบอกสำหรับสูบลม 1 อัน
1.11.3
มีกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์ จำนวน 1 ใบ
1.12 อุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น
(Kendrick
Extrication Device) สำหรับดามหลังผู้ที่
รับบาดเจ็บที่ยังติดอยู่ในซากรถ หรือใช้ดามกระดูกเชิงกรานผู้บาดเจ็บ
มีรายละเอียดดังนี้
1.12.1
โครงสร้างภายในผลิตจาก
PVC ที่มีความทนทาน
และง่ายต่อการทำความสะอาด
1.12.2
โครงสร้างภายนอกประกอบด้วย
เข็มขัด 3 สี คือ สีเขียว
สีเหลือง และสีแดง
1.12.3
การใช้งานเมื่อผู้ป่วยสวม
Body Splint แล้ว
หากเกิดช่องว่างระหว่างตัวของผู้ป่วยกับชุดเฝือกดามหลัง สามารถใช้เบาะยาวที่อยู่ในชุดช่วยเสริมช่องว่างให้กับผู้ป่วยเพื่อให้ชุดเฝือกดามหลังกระชับตัวผู้ป่วยยิ่งขึ้นบริเวณศรีษะสามารถ
ใช้งานร่วมกับชุดล็อกศรีษะ(Head Immobilize) จากนั้น จึงทำการเคลื่อนย้าย
ผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป
1.13
เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose
Meter)
1.13.1 วัดน้ำตาลได้ตั้งแต่ 20-600 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
1.13.2 ใช้วัสดุแผ่นทดสอบจำเพาะซึ่งสามารถซึมซับเลือดเข้าเครื่อง
เพื่อที่เครื่องจะวิเคราะห์
หาระดับน้ำตาล
1.13.3 สามารถใช้เลือดจากเส้นเลือดฝอย (Capillary) บริเวณนิ้วมือหรือแขนในการตรวจได้
1.13.4 ใช้เวลาในการอ่านค่าไม่เกิน 10 วินาที
1.13.5 มีแผ่นทดสอบมาพร้อมกับเครื่องไม่น้อยกว่า 20 แผ่น
1.14 เก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ชนิดเข็นและสามารถพับเก็บได้ ( Stair Chair)
1.14.1
เก้าอี้ทำด้วยโลหะปลอดสนิมมีพนักพิง
สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
1.14.2
ส่วนที่รองนั่งและพนักพิงผู้ป่วยเป็นพลาสติกขึ้นรูปหรือผ้าใบกันน้ำรับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดีกันน้ำ
สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย
1.14.3
มีที่จับสำหรับยกเก้าอี้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก
1.14.4
ส่วนฐานล่างของพนักพิงเป็นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อช่วยให้เคลื่อนย้ายในการเข็นแบบแนวราบได้สะดวกมากขึ้น
1.14.5
สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า
150 กิโลกรัม
1.14.6
น้ำหนักรวมไม่เกิน 15 กิโลกรัม
1.14.7
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO9001 และ ISO13485 พร้อม แนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.14.8
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
1.15
เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า(Defibrillator)
1.15.1 คุณสมบัติทั่วไป
1.15.1.1
เป็นเครื่องกระตุกหัวใจขนาดกะทัดรัด น้ำหนักพร้อมแบตเตอรี่ไม่เกิน 3
กิโลกรัม
มีหูหิ้วในตัว เคลื่อนย้ายได้สะดวกรวดเร็ว
1.15.1.2 สามารถใช้กระตุกหัวใจได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม
1.15.1.3 มีมาตรฐานความทนทานในการใช้งานที่ระดับอย่างน้อย
IP55
และมีการทำ
Drop
test ที่
75
cm ขึ้นไป
1.15.1.4 ตัวเครื่องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยบนรถพยาบาล
EN1789
หรือเทียบเท่า
1.15.1.5 ตัวเครื่องผ่านการทดสอบ
MIL
STD 810G category 16 สำหรับ professional transport
1.15.2 ตัวเครื่องประกอบด้วย
1.15.2.1
ภาพติดตามการทำงานของหัวใจ (Monitor)
1.15.2.2
ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator )
1.15.2.3
ภาคแนะนำการกระตุกหัวใจอัตโนมัติ
(AED)
1.15.2.4
ภาคให้จังหวะการเต้นหัวใจ(Pacing)
1.15.2.5
ภาควัดและแสดงค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
(SpO2)
1.15.2.6
ภาควัดความดันโลหิตแบบภายนอก
(NIBP)
1.15.3 คุณสมบัติทางเทคนิค
1.15.3.1ภาคติดตามการทำงานของหัวใจ
(Monitor)
1.จอภาพแสดงสัญญาณเป็นแบบชนิด LCD
TFT Color ขนาดเส้นทแยงมุมไม่
น้อยกว่า 5.7 นิ้ว
ความละเอียดในการแสดงผลไม่น้อยกว่า 480x640 Pixele
2.สามารถแสดงรูปคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นแบบต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ช่องสัญญาณ
3.สามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจถึง
12 ลีดได้
4.สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจและแสดงผลเป็นตัวเลขบนจอภาพได้
ตั้งแต่
15-300 ครั้งต่อนาที
5.มีการกำจัดสัญญาณรบกวน
(Common
Mode Rejection Ratio )ไม่ต่ำกว่า
90
เดซิเบล โดยผ่านมาตรฐาน IEC
60601-2-27
6.สามารถปรับ
Sensitivity
ได้
0.5,
1, 2, 4 cm/mV และแบบ
autogain
1.15.4
ภาคกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า
(Defibrillator)
1.รูปคลื่นเป็นแบบ Biphasic turncated Exponential) โดยมีระบบปรับความเหมาะสมของ
รูปคลื่นตามความต้านทานของหน้าอกผู้ป่วย
(Impedance Compensation)
2.สามารถตั้งพลังงานในการปล่อยประจุไฟฟ้าสำหรับกระตุกหัวใจผู้ป่วยตั้งพลังงานสูงสุดไม่
เกิน 360 จูลส์
3.ใช้เวลาสำหรับการเก็บประจุ (charge Time) ที่ไม่เกิน
5 วินาที ที่ 200 J และ ไม่เกิน
7 วินาที
ที่ 360 J โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
4.สามารถกระตุกหัวใจโดยใช้ Adhesive Pads
5.มีระบบแนะนำกระตุกหัวใจ
พร้อมเสียงแนะนำการกระตุก
6.มีระบบช่วยแนะนำการทำ
CPR
ด้วยการนับจังหวะ
7.สามารถตั้งค่าพลังงานในการกระตุกหัวใจที่
5, 10, 15, 20, 30, 40, 45, 50, 65,
75,
90, 150, 175, 200, 250, 300, 360 จูล
8.มีโหมด Synchronized cardioversion
1.15.5 ภาคแนะนำการกระตุกหัวใจอัตโนมัติ
(AED)
1.กระตุกหัวใจผ่านทางแผ่น แพดเดิ้ลอ่อน ( Disposable Soft Paddle)
2.พลังงานที่ใช้กระตุกหัวใจ
150-360 จูลส์ สำหรับผู้ใหญ่ และ ที่ 40-90 จูลล์ สำหรับเด็ก
1.15.6 ภาคการให้จังหวะการเต้นของหัวใจชนิดภายนอก
(Non Invasive Pacing)
1.รูปคลื่นสัญญาณเป็นแบบ Rectangular
constant current
2.สามารถปรับตั้งกระแสตั้งแต่
0-200 มิลลิแอมแปร์ โดยมีความกว้างของสัญญาณอย่าง
น้อยตั้งแต่ 40 msec.
3.สามารถปรับตั้งสัญญาณการเต้นได้อย่างน้อยตั้งแต่
30-180 ครั้งต่อนาที
หรือดีกว่า
1.15.7 ภาควัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
(SPO2)
1.
สามารถวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ได้อย่างน้อยตั้งแต่ 0-100 เปอร์เซ็นต์
วัด ชีพจรได้อย่างน้อยตั้งแต่ 25-240
ครั้งต่อนาที
2.
สามารถปรับ sensitivity
ของการวัดค่า
SpO2 ได้ตามสภาพของผู้ป่วย
1.15.8
ภาควัดความดันโลหิตแบบภายนอก (Non-invasive
in Blood Pressure)
1.
สามารถแสดงค่าได้ทั้ง Systolic,
Diastolic และ Mean
2.
สามารถใช้วัด ชีพจรได้อย่างน้อยตั้งแต่
30-220 ครั้งต่อนาที
3.
ความดันตั้งต้นสำหรับผู้ใหญ่ :160 mmHg, สำหรับเด็ก : 140 mmHg
1.15.9
อุปกรณ์ประกอบการใช้งานต่อเนื่อง
1.
12
Lead ECG Cable จำนวน 1 ชุด/เครื่อง
2.
NIBP
Air Hose จำนวน
1 ชุด/เครื่อง
3.
Reusable
SPO2 Sensor จำนวน 1 ชุด/เครื่อง
4.
Pads
Cable จำนวน
1 ชุด/เครื่อง
5.
Adhesive
Pads จำนวน
1 ชุด/เครื่อง
1.16
เครื่องช่วยหายใจแบบอัตโนมัติชนิดเคลื่อนที่ได้
(Portable
Patient Transfer Ventilator)
1.16.1 คุณสมบัติทั่วไป
1.
เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดพกพาที่ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน
2.
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult) หรือเด็กโต (Children)
3.
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีกลไกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic)
4.
สามารถใช้กับแรงดันแก๊สออกซิเจนจากถังหรือจาก Pipe line ของโรงพยาบาลได้
5.
ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักไม่เกิน 2.5 กิโลกรัม
6.
มีมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในรถพยาบาล EN1789+A2
7.
มีมาตรป้องกันฝุ่นและน้ำ (IP: International Protection Standard)
ไม่ต่ำกว่า IP44
1.16.2 คุณสมบัติทางเทคนิค
1.
เป็นเครื่องช่วยหายใจประเภท IPPV Volumetric-PSV with IPPV
Cycle Time
2.
มีระบบ Ventilation
Modes ดังนี้
-AUT-AST
(Interval positive pressure ventilation)
-PSV
(Pressure Supported Ventilator)
-Apnea
Backup
-CPAP
(Constant Positive Respiratory Tract Pressure)
-PEEP
(Positive End-Expiratory Pressure)
3.
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ตั้งอัตราการหายใจ (Breath Rate) ได้ตั้งแต่ 5 ถึง 70 ครั้งต่อนาที
4. สามารถปรับปริมาตรลมหายใจออก Minute
Volume ได้ 1 ถึง 6 ลิตรต่อนาที
5.
สามารถจ่ายปริมาตรอากาศที่ไหลเข้าออกให้ผู้ป่วย (Tidal Volume)
ได้ตั้งแต่ 15
ถึง 3000 มิลลิลิตร
6.
มีอัตราส่วนในการหายใจเข้าต่อการหายใจออก (I:E Rate) เท่ากับ 1:1.5
7.
สามารถปรับอัตราการไหลของอากาศ (Flow Rate) ได้ถึง 50
ลิตรต่อนาที
8.
สามารถตั้งค่า Pressure Limit ในโหมด CPAP ได้ 0 ถึง 50 เซนติเมตรน้ำ
9
สามารถตั้งค่า PEEP
ได้ในช่วง 0 ถึง 20 เซนติเมตรน้ำ
10.
สามารถปรับตั้งอัตราส่วนสำหรับการผสมออกซิเจนได้ 50% หรือ 100%
11.
มีระดับความไวในการกระตุ้นเครื่องช่วยหายใจ (Trigger Sensitivity)
1 ถึง 5 เซนติเมตรน้ำ
12.
สามารถเลือก Mode การทำงานได้ดังนี้:
AUT+AST, PSV หรือ CPAP
13.
มีหน้าจอแบบ Manometer เป็นแถบไฟ LED แสดงระดับความดันขณะหายใจเข้าสูงสุด
Peak Airway Pressure ได้ ตั้งแต่ 20 ถึง 80 เซนติเมตรน้ำ
14.
มีระบบสัญญาณเตือน (Alarm Types) ต่างๆ คือ Battery Level, Low and High Airways Pressure, Apnea, GAS Supply, Power
Failure, Obstruction (Low Paw Warning)
15.
สามารถใช้งานได้กับไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลท์ 50 เฮริตซ์ หรือไฟฟ้ากระแสตรง 12
โวลท์
และมีแบตเตอรีที่สามารถชาร์จได้ภายในเครื่อง
เมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องไม่
น้อยกว่า 10 ชั่วโมง
16.
ได้รับมาตรฐาน EN 60601-1, EN 794-3+A2, EN 62304, EN ISO 15223-1,
EN
ISO 13485, EN ISO 14971:2012, TS EN 1041:2008, TS EN 14155
และ EN
1789+A2
1.16.3 อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)
มีดังนี้
1.
ชุดสายช่วยหายใจ Disposable จำนวน 1
ชุด
2.
แบคทีเรียฟิลเตอร์ จำนวน
1 ชุด
3.
ชุดจ่ายไฟฟ้าและชาร์จแบตเตอรี่ จำนวน
1 ชุด
4.
Test
Balloon จำนวน 1 ชุด
5
.Disposable
PVC patient device จำนวน 1 ชุด
6. Ambulance Mounting Bracket จำนวน 1 ชุด
7. คู่มือการใช้งาน จำนวน
1 ชุด
1.16.4
เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO13485 พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
1.16.5
มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
2. เงื่อนไขเฉพาะ
2.1 สำหรับตัวรถยนต์
2.1.1 ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ผลิตโดยตรงหรือผู้นำเข้าโดยตรง
หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้ง
จากบริษัทผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าโดยตรง โดยแนบหลักฐานมาพร้อมในวันยื่นเอกสาร
2.1.2
โรงงานผู้ประกอบและดัดแปลงรถพยาบาลจะต้องมีมาตรฐานและขึ้นทะเบียนตามที่กฎหมาย
กำหนดดังนี้โดยต้องแนบสำเนาเอกสารใบอนุญาตมาพร้อมใบเสนอราคา
ดังนี้
2.1.2.1 โรงงานผู้ประกอบและดัดแปลงรถพยาบาลต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ
โรงงานประเภทดัดแปลง
สภาพรถยนต์ จากกระทรวงอุตสาหกรรม
2.1.2.2 โรงงานผู้ประกอบและดัดแปลงรถพยาบาลต้องเป็นผู้ที่ได้รับการตรวจประเมินและ
รับรองมาตรฐานตามข้อกำหนด
ISO9001:2015 และ ISO14001:2015 การครอบคลุม
ขอบข่ายการออกแบบ และประกอบรถพยาบาล และต้องเป็นผู้ที่ได้รับการตรวจ
ประเมิน
และรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนด ISO 13485:2016
การออกแบบ
ผลิต จำหน่าย อุปกรณ์การแพทย์
2.1.2.3 โรงงานผู้ประกอบและดัดแปลงรถพยาบาลต้องขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพสามิต
ในอุตสาหกรรมประเภทดัดแปลงรถยนต์
พร้อมทั้งแสดงใบทะเบียนสรรพสามิตมา
พร้อมในวันเสนอราคา
2.1.2.4 โรงงานผู้ประกอบและดัดแปลงรถพยาบาลต้องมีศูนย์บริการที่ได้มาตรฐานในจังหวัดที่
ท่านเสนอราคาอย่างน้อยจังหวัดละ 1
แห่งเพื่อสะดวกสำหรับการบำรุงรักษาและการ
ให้บริการหลังการขาย
2.1.3
ผู้เสนอราคาต้องได้รับอนุญาต
ประกอบ ดัดแปลงรถพยาบาลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและได้รับ
การตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน (ตามข้อ 2.1.2)
หรือได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทที่ได้รับ
อนุญาต โดยมีหนังสือยืนยันยื่นมาในวันเสนอราคา
2.1.4 ผู้ซื้อสามารถนำรถยนต์พยาบาลเข้าใช้บริการในศูนย์บริการรถยนต์มาตรฐานที่ได้รับการรับรองจาก
ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าโดยตรง
โดยแนบหลักฐานในวันยื่นเอกสาร
2.1.5 รับประกันคุณภาพไม่น้อยกว่า 50,000
กิโลเมตร (ห้าหมื่นกิโลเมตร) หรือระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1
ปีนับตั้งแต่วันรับมอบของครบเป็นต้นไปสุดแต่อย่างใดจะถึงก่อนหากมีการชำรุดเสียหายในกรณีใช้
งานตามปกติ ผู้ขายต้องรับผิดชอบซ่อมแซม
เปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ให้โดยไม่คิดมูลค่า เว้นแต่กรณี
ที่เกิดอุบัติเหตุ
หรือภัยธรรมชาติ
2.1.6 มีคู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษาเป็นภาษาไทยตามมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิต
จำนวน 1 ชุด
2.1.7 มีแผนผังการเดินสายไฟฟ้าและระบบท่อออกซิเจนทั้งหมดในส่วนของห้องพยาบาลโดยแนบ
มากับเอกสารในวันยื่นเอกสาร
2.1.8 ผู้ขายต้องให้บริการในการบำรุงรักษารถพยาบาลฉุกเฉิน
โดยไม่คิดมูลค่าค่าแรงภายในระยะ
เวลา หรือระยะทางที่ศูนย์บริการมาตรฐาน ตาม ข้อ 2.1.5
2.1.9 ผู้เสนอราคาต้องดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์พยาบาลให้แล้วเสร็จโดยไม่คิดมูลค่า
2.2 ห้องพยาบาล
2.2.1 อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ติดตั้งต้องเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ใหม่ทุกชิ้นที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
2.2.2 รับประกันคุณภาพ
1 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับของเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2.2.3 สำหรับครุภัณฑ์การแพทย์
2.2.3.1 ครุภัณฑ์การแพทย์ต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งาน หรือในการสาธิตมาก่อน
2.2.3.2 ผู้เสนอราคาต้องยื่น Catalog หรือแบบรูป แสดง ยี่ห้อ, รุ่น, ประเทศผู้ผลิตของ
ครุภัณฑ์ การแพทย์
2.2.3.3 หากเกิดการชำรุดขัดข้องภายในระยะเวลารับประกัน และทำการแก้ไขแล้วถึง 3
ครั้ง
ผู้ขายต้องนำชิ้นส่วนหรืออะไหล่ใหม่มาเปลี่ยนให้
2.2.3.4
ผู้ขายต้องทำหนังสือรับประกันคุณภาพเป็นเวลา
1 ปี ให้แก่ผู้ซื้อ
นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจรับของเรียบร้อยแล้ว
2.2.3.5 อุปกรณ์และเครื่องมือครุภัณฑ์การแพทย์ช่วยชีวิตฉุกเฉินที่ออกแบบให้ยึดติดกับตัวถังรถ
ต้องยึดติดได้อย่างมั่นคงแข็งแรงไม่หลุดง่ายขณะรถกำลังขับเคลื่อน
2.2.4ผู้เสนอราคาจะต้องส่งรูปแบบ (Shop
Drawing) ทั้งภายนอกและภายในที่แสดงตำแหน่ง
อุปกรณ์และครุภัณฑ์การแพทย์ตามข้อกำหนดในวันยื่นเอกสาร
2.2.5
ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ตามรายการดังต่อไปนี้
ต้องมีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมแนบรายการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยในรายการต้องระบุรุ่นตรงกับที่ยื่นเสนอราคา
(เอกสารต้องยื่นในวันเสนอราคา)
2.2.5.1
เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยแบบมีล้อเข็น
1 เตียง
2.2.5.2
เครื่องตรวจวัดปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและสัญญาณชีพฯ
2.2.5.3
เก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ชนิดเข็นและสามารถพับเก็บได้(Stair Chair)
2.2.5.4
เครื่องช่วยหายใจ
2.2.6
พัสดุทางการแพทย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO13485
หรือ CE พร้อมแนบเอกสารมาในวันเสนอราคา
ซึ่งเอกสารต้องไม่หมดอายุในวันเสนอราคา